ทำความรู้จักระบบ Shipping นำเข้าสินค้าจากจีน

PSSC-Article-Cover-81

ปัจจุบันนี้การช้อปปิ้งออนไลน์กำลังเป็นที่นิยมสุดๆ และกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าจากจีน เพราะสินค้าที่มีราคาถูกและมีหลากหลายตัวเลือก แต่หนึ่งในขั้นตอนสำคัญที่หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นก็คือระบบ Shippingการนำเข้าสินค้าจากจีน หรือการขนส่งสินค้ามายังปลายทางของคุณ 

การนำเข้าสินค้าจากจีนจึงเป็นอีกช่องทางที่น่าสนใจสำหรับผู้ประกอบการหลายราย ในมุมมองผู้ประกอบการแน่นอนว่าต้องมองหาช่องทางในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ในบทความนี้ เราจะมาช่วยอธิบายให้คุณเข้าใจระบบ shippingนำเข้าสินค้าจากจีน ง่ายๆในเวลาสั้นๆ  ตั้งแต่ประเภทของการขนส่ง เหมาะกับสินค้าแบบไหน? ให้คุณได้เลือกบริการขนส่งให้คุ้มค่าและรวดเร็วที่สุด รวมไปถึงขั้นตอนการนำเข้าและค่าใช้จ่ายที่ควรรู้เพื่อให้เกิดความสะดวกในการคำณวนต้นทุนอีกด้วย  

การขนส่งมีประเภทไหนบ้าง?

ในยุคปัจจุบัน นอกจากความต้องการคุณภาพของสินค้าที่ดีแล้ว ลูกค้าก็ยังชื่นชอบบริการขนส่งสินค้าที่รวดเร็วทันใจ เป็นสิ่งที่สำคัญที่ผู้ประกอบการต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและมีประสิทธิภาพ การตัดสินใจเลือก ประเภทของการขนส่ง ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่ต้องพิจารณา เช่น ขนาดและน้ำหนักของสินค้า ระยะทางที่ต้องขนส่ง ต้นทุน และระยะเวลาในการจัดส่ง เพื่อให้เข้าใจภาพรวมมากขึ้น เราสรุปมาให้เรียบร้อยแล้ว โดยรวมแล้วมีดังนี้ 

1. การขนส่งทางบก (Land Transportation)

การขนส่งทางรถไฟ (Rail Freight)

ข้อดี : สามารถขนส่งสินค้าขนาดใหญ่หรือมีน้ำหนักมากๆในระยะทางไกลๆได้ เช่น ตู้คอนเทนเนอร์ เครื่องจักร เป็นต้น ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าขนส่งทางอากาศหรือทางเรือทำให้เราประหยัดต้นทุนได้ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมกว่าการขนส่งประเภทอื่นๆอีกด้วย

ข้อเสีย : มีข้อจำกัดในเรื่องของเส้นทางเพราะเดินทางได้เฉพาะตามเส้นทางของรางรถไฟ ไม่สามารถยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนได้ และระยะเวลาการขนส่ง อาจช้ากว่าการขนส่งทางถนนหรือทางอากาศ โดยเฉพาะถ้ามีความล่าช้าหรือปัญหาในการขนถ่ายสินค้า

  • การขนส่งทางรถบรรทุก (Truck Freight)

ข้อดี : สามารถเดินทางไปยังที่หมายได้แทบทุกแห่ง(ในระยะภายในประเทศ) สามารถไปถึงพื้นที่ปลายทางได้โดยตรง และรวดเร็วสำหรับการเดินทางระยะสั้นถึงกลาง 

ข้อเสีย : จำกัดน้ำหนักและปริมาณในการขนส่ง ใช้ต้นทุนสูงกว่าแบบรถไฟ และมีความเสี่ยงจากอุบัติเหตุทางการจราจร สภาพอากาศ หรือสภาพถนนที่อาจจะทำให้สินค้ามีความเสียหายได้

2. การขนส่งทางน้ำ (Water Transportation)

  • การขนส่งทางเรือ (Sea Frieght)

ข้อดี : เหมาะสำหรับขนส่งสินค้าที่หนักหรือจำนวนมากในระยะทางไกล เช่น การขนส่งระหว่างประเทศหรือข้ามทวีป มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการขนส่งทางอากาศ

ข้อเสีย : แม้ว่าจะสามารถส่งสินค้าที่มีน้ำหนักและจำนวนมากได้ แต่ก็ไม่เหมาะกับสินค้าที่มีราคาสูงเนื่องจากมีความเสี่ยงต่อความล่าช้าเพราะอาจจะเจอปัญหาสภาพอากาศเช่น พายุ หรือคลื่นลมแรง  อาจจะใช้เวลา 15-20 วันขึ้นไป ถ้าคุณต้องการการจัดส่งแบบรวดเร็ววิธีนี้อาจจะไม่เหมาะ

3. การขนส่งทางอากาศ (Air Transportation)

  • การขนส่งทางเครื่องบิน (Air Freight)

ข้อดี : รวดเร็ว ใช้เวลาน้อยที่สุดในการขนส่งระหว่างประเทศ เหมาะกับสินค้าราคาสูงหรือของใช้ที่มีความสำคัญ เนื่องจากมีการจัดการความปลอดภัยบนเครื่องบินสูง และสามารถติดตามสถานะได้สะดวก

ข้อเสีย : มีค่าขนส่งสูง ข้อจำกัดเรื่องขนาดและน้ำหนักมีสามารถส่งได้เฉพาะสินค้าขนาดเล็กและน้ำหนักไม่มากเกินไป และข้อจำกัดประเภทของสินค้า คือ ประเภทสินค้าที่เป็นของเหลวหรือวัสดุที่ติดไฟได้บางประเภท

4. การขนส่งแบบ Multimodal (หลายรูปแบบ)

การขนส่งแบบหลายรูปแบบคือการรวมหลายวิธี เช่น ขนส่งทางเรือ + รถบรรทุก หรือ รถไฟ + รถบรรทุก ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความยืดหยุ่นในกระบวนการขนส่ง

ข้อเสีย: ต้องวางแผนให้ละเอียดและรอบครอบ เพราะการจัดการระบบที่ซับซ้อนที่อาจจะทำให้เกิดความผิดพลาดในเรื่องของระยะเวลา และ อาจมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการเปลี่ยนวิธีขนส่ง

5. การขนส่งทางพัสดุภัณฑ์ร่วม (Consolidation Shipping)

เป็นการรวมพัสดุขนาดเล็กหลายๆชิ้น จากผู้ส่งหลายรายที่มีปลายทางเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน มาบรรจุรวมกันในตู้คอนเทนเนอร์หรือประเภทการขนส่งเดียวกัน เพื่อส่งไปยังปลายทางในทีเดียว ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่าย ช่วยลดขั้นตอนการขนส่งทำให้สินค้าถึงมือผู้รับได้เร็วขึ้น

ข้อเสีย : อาจต้องรอสินค้าของผู้ส่งรายอื่นเพื่อรวมกันให้เต็มตู้ ทำให้ระยะเวลาการขนส่งนานขึ้น

และเมื่อนำการขนส่งทั้ง 5 ประเภทมาสรุปจะได้ตารางเปรียบเทียบเพื่อให้คุณเห็นภาพได้ง่ายขึ้น ก็จะได้ประมาณนี้

ประเภทการขนส่งระยะเวลาค่าใช้จ่ายขนาดสินค้าความเหมาะสม
ทางรถไฟ (Rail Freight)10-20 วันปานกลางมากสินค้าปริมาณมาก ที่ต้องเร็วกว่าเรือ
ทางรถบรรทุก (Truck Freight)5-10 วันปานกลางถึงสูงปานกลางสินค้าระยะขนส่งใกล้
ทางเรือ (Sea Freight)15-30 วันต่ำมากหรือขนาดใหญ่สินค้าปริมาณมาก ไม่เร่งด่วน
ทางเครื่องบิน(Air Freight)3-7 วันสูงปานกลางสินค้าราคาแพงหรือสินค้าที่ต้องการความรวดเร็ว
หลายรูปแบบ(Multimodal)10-30 วัน(ขึ้นอยู่กับเส้นทาง)ปานกลางถึงต่ำปานกลางถึงมากสินค้าที่ส่งระยะไกลแต่ต้องารลดต้นทุน
ทางพัสดุภัณฑ์ (Consolidation)15-30 วันต่ำน้อยถึงปานกลางสินค้าจำนวนน้อย ที่สามารถแชร์พื้นที่ในคอนเทนเนอร์

ค่าใช้จ่ายที่คุณควรรู้

เมื่อคุณได้เลือกประเภทขนส่งที่เหมาะสมแล้ว ค่าใช้จ่ายก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ต้องนึกถึงเช่นกัน เพื่อให้คุณสามารถวางแผนงบประมาณได้อย่างเหมาะสม ดังนั้น เรามาดูกันว่าค่าใช้จ่ายหลักๆ 4 อย่าง ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจากจีนมีอะไรบ้าง

  • ค่าสินค้า: รวมถึงราคาต้นทุน ค่าตัวอย่าง และค่าเครื่องมือพิเศษ
  • ค่าขนส่ง: ครอบคลุมค่าขนส่งภายในจีน ระหว่างประเทศ ค่าประกัน และภาษีศุลกากร
  • ค่าดำเนินการ: ค่าบริการตัวแทน ค่าธรรมเนียมท่าเรือ และค่าเอกสารต่างๆ
  • ค่าอื่นๆ: ค่าตรวจสอบคุณภาพ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าเก็บรักษาสินค้า

หมายเหตุ: ค่าใช้จ่ายทั้งหมดอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของสินค้า รวมถึงนโยบายภาษีของทั้งสองประเทศ

การนำเข้าสินค้าจากจีนเป็นช่องทางในการขยายธุรกิจที่น่าสนใจ แต่ต้องมีการวางแผนที่ดี โดยเฉพาะเรื่องการขนส่งหรือ Shipping ซึ่งมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา เช่น ประเภทสินค้า, ปริมาณ, ระยะเวลาที่ต้องการ และงบประมาณที่มี หรือการเลือกประเภทการขนส่งที่เหมาะสม การเตรียมเอกสารที่ถูกต้องและการผ่านพิธีการศุลกากรอย่างราบรื่นก็มีความสำคัญเช่นกัน

และหากคุณสนใจที่จะเริ่มต้นการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน บริการของ P.S. SPORT CARGO สามารถเป็นผู้ช่วยที่ดีของคุณได้ ด้วยบริการขนส่งจากจีนที่ลูกค้าไว้วางใจมากที่สุดมากว่า 10 ปี มีทีมล่ามที่เชี่ยวชาญดูแลประสานงานกับทางร้านค้าและโรงงานจีน มีบริการการขนส่งที่มีราคาถูก พร้อมดูแลอย่างเป็นระบบ ที่กล้าให้เรทราคาที่ถูกและคุ้มค้าที่สุดอย่างแน่นอน

image-01

P.S. SPORT CARGO Application

Application เช็คข้อมูลการจัดส่ง
ผ่านมือถือและเว็บไซต์ ออนไลน์ 24 ชั่วโมง

ติดต่อชิปปิ้งจีน PS SPORT CARGO

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม
หรือรับโปรโมชั่นพิเศษ
ติดต่อได้ในวันทำการ : จันทร์ - ศุกร์
เวลาทำการ : 08.00 - 17.00 น.

ช่องทางอื่นๆ

Scroll to Top